เผยแพร่ผลงาน นายอุดม ยกพล ผู้อำนวยการโรงเรียนเมืองจันทร์วิทยาคม

บทคัดย่อ

หัวข้องานวิจัย             รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะครูโรงเรียนเมืองจันทร์วิทยาคม

เพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้การสอนคิดตามแนวทาง Thinking School

ผู้วิจัย                      นายอุดม ยกพล

หน่วยงานที่รับผิดชอบ    โรงเรียนเมืองจันทร์วิทยาคม

การวิจัยในครั้งนี้มีจุดประสงค์ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานและสภาพความต้องการรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะครูโรงเรียนเมืองจันทร์วิทยาคมเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้การสอนคิดตามแนวทาง Thinking School 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการพัฒนาสมรรถนะครูโรงเรียนเมืองจันทร์วิทยาคมเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้การสอนคิดตามแนวทาง Thinking School 3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะครูโรงเรียนเมืองจันทร์วิทยาคมเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้การสอนคิดตามแนวทาง Thinking School 4) เพื่อประเมินผลการใช้รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะครูโรงเรียนเมืองจันทร์วิทยาคมเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้การสอนคิดตามแนวทาง Thinking School ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) กลุ่มผู้ร่วมวิจัย จำนวน 23 คน ประกอบด้วย รองผู้อำนวยการสถานศึกษา จำนวน 1 คน ครูผู้สอนโรงเรียนเมืองจันทร์วิทยาคม จำนวน 22 คน 2) กลุ่มเป้าหมายประกอบด้วย ครูผู้สอนที่เป็นกลุ่มผู้ร่วมวิจัย จำนวน 22 คน 3) กลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 25 คน ประกอบด้วย 3.1) ศึกษานิเทศก์ ผู้บริหารสถานศึกษาที่โรงเรียนจัดการเรียนรู้การสอนคิดตามแนวทาง Thinking School เช่นกัน ร่วมกำกับ ติดตาม ให้คำปรึกษา และนิเทศในการดำเนินการพัฒนาสมรรถนะครูเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้การสอนคิดตามแนวทาง Thinking School จำนวน 2 คน 3.2) กลุ่มผู้ร่วมวิจัย จำนวน 23 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่ แบบวิเคราะห์เอกสาร แบบสัมภาษณ์ แบบทดสอบ แบบสอบถาม แบบสังเกต แบบบันทึกประเด็นสนทนากลุ่มและแบบบันทึกผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย (x̅) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D) ค่า Wilcoxon Signed Ranks Test และ การวิเคราะห์เนื้อหา  

ผลการวิจัยพบว่า

1. ผลการศึกษาข้อมูลพื้นฐานและสภาพความต้องการการพัฒนารูปแบบการพัฒนาสมรรถนะครูโรงเรียนเมืองจันทร์วิทยาคม เพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้การสอนคิดตามแนวทาง Thinking School พบว่า  กฎหมาย นโยบาย และแนวคิดทฤษฎีทางการศึกษา ในระดับต่าง ๆ ล้วนให้ความสำคัญกับการปฏิรูปการศึกษา และจัดการเรียนรู้ที่เน้นทักษะการคิดของผู้เรียน และทักษะในศตวรรษที่ 21 เช่น รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 หมวด 6 แผนการศึกษาแห่งชาติ (พ.ศ. 2560–2579) พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพุทธศักราช 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) 2545 มาตรา 52 ข้อเสนอแนะในการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่ 2 แนวคิดปรัชญา Constructivism ทฤษฎีพหุปัญญา เป็นต้น ส่วนการวิเคราะห์สภาพปัจจุบันและสภาพความต้องการเกี่ยวกับการพัฒนาการจัดการเรียนรู้การสอนคิดตามแนวทาง Thinking School นั้น พบว่า ปัญหาที่ต้องทำการแก้ไขเร่งด่วน คือ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ซึ่งผลการเรียนเฉลี่ยรวมทุกรายวิชาต่ำกว่าเป้าหมายที่กำหนด รวมทั้งผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) โรงเรียนเมืองจันทร์วิทยาคม ปีการศึกษา 2565 ได้คะแนนต่ำกว่าค่าเฉลี่ยรวมระดับประเทศ ครู ร้อยละ 80 ยังขาดศักยภาพและสมรรถนะในการจัดการเรียนรู้และการส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียนจากข้อมูลพื้นฐานและสภาพความต้องการดังกล่าวจึงนำมาสู่การพัฒนารูปแบบการพัฒนาสมรรถนะครูโรงเรียนเมืองจันทร์วิทยาคมเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้การสอนคิดตามแนวทาง Thinking School

2. ผลการพัฒนารูปแบบการพัฒนาสมรรถนะครูโรงเรียนเมืองจันทร์วิทยาคมเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้การสอนคิดตามแนวทาง Thinking School ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การศึกษาวิเคราะห์ 2) การออกแบบและการพัฒนา 3) การทดลองใช้รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะครูโรงเรียนเมืองจันทร์วิทยาคมเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้การสอนคิดตามแนวทาง Thinking School  (CADDER Model) ซึ่งมีองค์ประกอบหลัก 6 ขั้น ได้แก่ ขั้นที่ 1 Competency : C การกำหนดสมรรถนะของครู ขั้นที่ 2 Analysis : A การวิเคราะห์สมรรถนะครู ขั้นที่ 3 Development : D การพัฒนาสมรรถนะครู ขั้นที่ 4 Do : D การลงมือปฏิบัติ ขั้นที่ 5 Evaluation : E การประเมินผล ขั้นที่ 6 Reflection : R การทบทวนผลการปฏิบัติงาน  

3. ผลการใช้รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะครูโรงเรียนเมืองจันทร์วิทยาคมเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้การสอนคิดตามแนวทาง Thinking School พบว่า

     3.1 การประเมินผลการฝึกอบรมการจัดการเรียนรู้การสอนคิดตามแนวทาง Thinking School อยู่ในระดับมากที่สุด (x̅ = 4.64, S.D = 0.62)

     3.2 การทดสอบความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้การสอนคิดตามแนวทาง Thinking School ครูมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้การสอนคิดตามแนวทาง Thinking School แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ยอมรับสมมติฐานการวิจัยข้อ 1 โดยหลังการใช้รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะครูโรงเรียนเมืองจันทร์วิทยาคมเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้การสอนคิดตามแนวทาง Thinking School (CADDER Model) (x̅ = 34.33, S.D. = 3.02)

สูงกว่าก่อนการใช้รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะครูโรงเรียนเมืองจันทร์วิทยาคมเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้การสอนคิดตามแนวทาง Thinking School (CADDER Model) (x̅ = 19.38, S.D. = 3.76)

     3.3 การประเมินสมรรถนะครูที่ส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ตามแนวทาง Thinking School โดยภาพรวมมีการปฏิบัติได้ตามระดับที่คาดหวัง (x̅ = -3.46, S.D. = 0.53) ยอมรับสมมติฐานการวิจัย ข้อ 2

     3.4 การสังเกตการจัดกิจกรรมจัดการเรียนรู้การสอนคิดตามแนวทาง Thinking School ของครูโดยภาพรวมครูมีการปฏิบัติได้ดี (x̅ = 4.41, S.D.= 0.66) ยอมรับสมมติฐานการวิจัยข้อที่ 2

4. ผลการประเมินผลกระทบการใช้รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะครูโรงเรียนเมืองจันทร์-

วิทยาคมเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้การสอนคิดตามแนวทาง Thinking School พบว่า 

     4.1 ความพึงพอใจที่มีต่อรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะครูโรงเรียนเมืองจันทร์วิทยาคม เพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้การสอนคิดตามแนวทาง Thinking School โดยภาพรวม ครู ผู้บริหารและศึกษานิเทศก์มีความพึงพอใจต่อรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะครูโรงเรียนเมืองจันทร์วิทยาคมเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้การสอนคิดตามแนวทาง Thinking School อยู่ในระดับมากที่สุด (x̅ = 4.65, S.D. = 0.53) ยอมรับสมมติฐานการวิจัยข้อ 3

     4.2 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน โดยเปรียบเทียบระหว่างผลสัมฤทธิ์

ปีการศึกษาที่วิจัยกับผลสัมฤทธิ์ในปีการศึกษาที่ผ่านมา ผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) โรงเรียนเมืองจันทร์วิทยาคม ปีการศึกษา 2565–2566 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีร้อยละของคะแนนเฉลี่ย ปีการศึกษา 2566 สูงกว่าปีการศึกษา 2565 ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนจากการจัดการเรียนรู้การสอนคิดตามแนวทาง Thinking school ปีการศึกษา 2566 เปรียบเทียบกับปีการศึกษา 2565 โดยรวม ปีการศึกษา 2566 มีผลการเรียนเฉลี่ยสูงกว่าปีการศึกษา 2565 ยอมรับสมมติฐานการวิจัยข้อที่ 4 โดยหลังการใช้รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะครูโรงเรียนเมืองจันทร์วิทยาคมเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้การสอนคิดตามแนวทาง Thinking School ในปีการศึกษา 2566 ผลการเรียนเฉลี่ยของนักเรียน มีค่าเฉลี่ย (x̅ = 3.06) สูงกว่าก่อนการใช้รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะครูโรงเรียนเมืองจันทร์วิทยาคมเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้การสอนคิดตามแนวทาง Thinking School ในปีการศึกษา 2565 (x̅ = 2.92) และนักเรียนที่มีผลการเรียนในระดับดีขึ้นไปในปีการศึกษา 2566 ร้อยละ 61.53 สูงกว่าก่อนการใช้รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะครูโรงเรียนเมืองจันทร์วิทยาคมเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้การสอนคิดตามแนวทาง Thinking School ในปีการศึกษา 2565 ร้อยละ 52.47 ยอมรับสมมติฐานการวิจัยข้อที่ 4

4.3 ผลจากการสนทนากลุ่มร่วมกันโดยผู้วิจัย ผู้บริหารสถานศึกษา ศึกษานิเทศก์ และครูกลุ่มเป้าหมาย สรุปว่า องค์ประกอบของรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะครูโรงเรียนเมืองจันทร์วิทยาคม เพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้การสอนคิดตามแนวทาง Thinking School ทุกองค์ประกอบมีความเหมาะสมและสอดคล้องสัมพันธ์กัน การพัฒนาสมรรถนะครูเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้การสอนคิดตามแนวคิดตามแนวทาง Thinking School เป็นกระบวนการที่เป็นประโยชน์และสามารถพัฒนาสมรรถนะครูได้จริงตามเป้าหมายที่วางไว้ รวมทั้งเป็นกระบวนการในแต่ละขั้นตอนมีความต่อเนื่องและสัมพันธ์กัน ทำให้ส่งผลต่อการพัฒนาทั้งด้านการจัดการเรียนรู้ การส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการเรียนรู้ การพัฒนาตนเองและวิชาชีพ รวมทั้งส่งผลต่อการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนให้สูงขึ้น โดยครูต้องมีความมุ่งมั่นจริงใจในการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ตามขั้นตอนการสอนคิดตามแนวทาง Thinking school อย่างเคร่งครัดด้วยความเต็มใจ ร่วมมือกันและมีความรับผิดชอบในการปฏิบัติทุกขั้นตอน ผู้บริหารต้องให้การสนับสนุนทั้งทางด้านการจัดการอบรม งบประมาณ สื่อ วัสดุ สิ่งอำนวยความสะดวกและสร้างขวัญกำลังใจ สร้างแรงจูงใจให้กับครู และใช้กระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (Professional Learning Community : PLC) ในขั้นตอนการปฏิบัติของการใช้รูปแบบ

รายงานการประเมินโครงการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

โรงเรียนเมืองจันทร์วิทยาคม อำเภอเมืองจันทร์ จังหวัดศรีสะเกษ

Project evaluation report adopting the philosophy of Sufficiency Economy

  at Mueangchanwitthayakhom School, Mueangchan District, Sisaket Province

อุดม ยกพล

Udom Yokphon

บทสรุปสำหรับผู้บริหาร

รายงานการประเมินโครงการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนเมืองจันทร์วิทยาคม อำเภอเมืองจันทร์ จังหวัดศรีสะเกษ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อประเมินบริบท 2) เพื่อประเมินปัจจัย 3) เพื่อประเมินกระบวนการ 4) เพื่อประเมินผลผลิต โดยใช้รูปแบบการประเมินโครงการแบบซิปป์ (CIPP Model) ประชากรที่ใช้ ได้แก่ ผู้นำชุมชน จำนวน 5 คน ครูและบุคลากรทางการศึกษา จำนวน 30 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 15 คน นักเรียน จำนวน 305 คน ผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 305 คนรวมทั้งสิ้น 660 คน เครื่องมือที่ใช้ประเมินได้แก่ แบบสอบถาม 1 ชุด โดยมีทั้งหมด 5 ตอน ตอนที่ 1 ใช้สำหรับสอบถามผู้นำชุมชน ครูและบุคลากรทางการศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน นักเรียน และผู้ปกครอง ตอนที่ 2 ใช้สำหรับสอบถามผู้นำชุมชน ครูและบุคลากรทางการศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ตอนที่ 3 ใช้สำหรับสอบถามผู้นำชุมชน ครูและบุคลากรทางการศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ตอนที่ 4 ใช้สำหรับสอบถามผู้นำชุมชน ครูและบุคลากรทางการศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และตอนที่ 5 ใช้สำหรับสอบถาม ครูและบุคลากรทางการศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน นักเรียน และผู้ปกครอง การวิเคราะห์ข้อมูล ใช้ค่าเฉลี่ยเลขคณิต และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการประเมินสรุปได้ดังนี้

1. ผลการประเมินด้านบริบทของโครงการในภาพรวม มีความเหมาะสมในระดับระดับมาก

พบว่า ผู้นำชุมชน ครูและบุคลากรทางการศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีความคิดเห็นว่าวัตถุประสงค์ของโครงการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนเมืองจันทร์วิทยาคม อำเภอเมืองจันทร์ จังหวัดศรีสะเกษ มีความสอดคล้องกับแผนพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับ 12 สอดคล้องกับพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 สอดคล้องกับนโยบายของแผนการศึกษาชาติ พ.ศ.2560 – 2579 และสอดคล้องกับความต้องการของโรงเรียนและชุมชน

2. ผลการประเมินด้านปัจจัยเบื้องต้นของโครงการในภาพรวมมีความเหมาะสมในระดับระดับมาก แสดงให้เห็นว่า ผู้นำชุมชน ครูและบุคลากรทางการศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีความคิดเห็นเกี่ยวกับความเหมาะสมของปัจจัยนำเข้าของโครงการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนเมืองจันทร์วิทยาคม อำเภอเมืองจันทร์ จังหวัดศรีสะเกษ ว่ามีความพร้อมในการดำเนินงานของผู้บริหารและครูผู้รับผิดชอบโครงการ การบริหารและครูผู้รับผิดชอบโครงการมีความสามารถในการดำเนินโครงการ บุคลากรในการดำเนินโครงการมีความเพียงพอ บุคลากรในการดำเนินโครงการมีความเหมาะสม งบประมาณในการดำเนินโครงการมีเพียงพอ มีคู่มือดำเนินโครงการ วัสดุอุปกรณ์ในการปฏิบัติกิจกรรมมีเพียงพอและระยะเวลาในการดำเนินโครงการมีความเหมาะสม

คำสำคัญ: การประเมินโครงการ, หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

1ผู้อำนวยการโรงเรียนเมืองจันทร์วิทยาคม องค์การบริหารส่านจังหวัดศรีสะเกษ

Director of Mueangchanwitthayakhom School, Sisaket Provincial Administrative Organization

Udyokpol1@gmail.com(อีเมล์ ผอ.อุดม  ยกพล)

EXECUTIVE SUMMARY

Project evaluation report adopting the philosophy of Sufficiency Economy at Mueangchanwitthayakhom School, Mueangchan District, Sisaket Province. The purpose are 1) to evaluate the context 2) to evaluate factors 3) to evaluate processes 4) to evaluate outputs. Using the CIPP Model project evaluation model. The population used included 5 community leaders, 30 teachers and educational personnel, 15 Basic Education Commission, 305 students, 305 parents, a total of 660 people. The tool used for evaluation is a questionnaire, with a total of 5 sections. Part 1 is used to ask community leaders. Teachers and educational personnel, Basic Education Commission, students and parents. Part 2,3,4 is used for asking community leaders, teachers and educational personnel, Basic Education Commission and part 5 is used for asking teachers and educational personnel, Basic Education Commission, students and parents. Data was analyzed by means and standard deviation.

The evaluation results are summarized as follows.

1. Results of the overall project context assessment It is appropriate at a high level.

It was found that the opinion of community leaders, teachers and educational personnel, Basic Education Commission about the objective of the project adopting the philosophy of Sufficiency Economy at Mueangchanwitthayakhom School, Mueangchan District, Sisaket Province is consistent with the The 13th National Economic and Social Development Plan, Consistent with the National Education Act of 1999, consistent with the policies of the National Education Plan 2017 – 2036, and consistent with the needs of schools and communities.

2. Results of the evaluation of preliminary factors of the project Overall, it is appropriate at a high level. It shows that the opinions of community leaders, teachers and educational personnel, Basic Education Commission about appropriateness of the input factors of the project adopting the philosophy of Sufficiency Economy at Mueangchanwitthayakhom School, Mueangchan District, Sisaket Province, There is readiness to carry out the work of the administrators and teachers responsible for the project. The administration and teachers responsible for the project have the ability to carry out the project. Personnel to carry out the project are sufficient. Personnel to carry out the project are appropriate. The budget for the project is sufficient. There is a manual to carry out the project. The materials and equipment for carrying out the activities are sufficient and the duration of the project is appropriate.

Keywords: Project evaluation, the philosophy of Sufficiency Economy